สินค้าของเรา

ถังดับเพลิง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ขนาด 5 lbs

เครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้วก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Co2)ขนาด 5 ปอนด์

ลักษณะก๊าซดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์(Carbon dioxide – Co2)

บรรจุในถังแดง ต่างประเทศบรรจุในถังสีดำ ภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง ประมาณ 800 – 1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ซึ่ง ตัวถังดับเพลิงจะหนักและหนากว่าถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกรวยทรงกระบอก  คาร์บอนไดออกไซด์จะทำหน้าที่ในการดับเพลิงโดยคลุมดับและการตัดออกซิเจน โดยฉีดเข้าใกล้ฐานไฟให้มากที่สุด ประมาณ 1.5-2 เมตร เมื่อใช้งานแล้วจะไม่มีสกปรกหลงเหลือ เวลาใช้งานจะเสียงค่อนข้างดัง นิยมใช้ภายในอาคารที่ต้องการความสะอาด หรือมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เป็นสื่อของกระแสไฟฟ้า สามารถใช้ดับไฟประเภท Class C

ติดต่อเรา

ขอราคาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

รายละเอียดสินค้า

การใช้งานของถังดับคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2)
1. ง่ายและปลอดภัยในการใช้งาน    ใช้งานง่ายโดยดึงสลักตรงมือจับให้ขาดแล้วดึงสายฉีดดับเพลิงออกจากที่เก็บพร้อมเล็งไปที่ฐานไฟ จากนั้นกดคันบีบให้สุด  ใช้ได้กับไฟประเภท ดังนี้
Class B  ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจาก ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ
Class C  ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจากแผงวงจรไฟฟ้า ,กระแสไฟฟ้า
เหมาะสำหรับในสถานที่  ห้องไฟฟ้า,  ห้องเซฟเวอร์,  ห้องที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  ,สถานที่ ที่ต้องการความสะอาด

ข้อดีของถังดับเพลิงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

1. สะอาด

2. ทำความสะอาดง่าย เพราะเมื่อฉีดแล้วจะระเหยหมดไปเอง

3. เหมาะสาหรับ ห้องอิเลคทรอนิกส์ หรือ ห้องเซฟเวอร์ ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เกิดการลุกไหม้ไฟที่ไม่ใหญ่

ข้อเสียของถังดับเพลิงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

1. ฉีดดับไฟที่เกิดจาก ไม้ กระดาษ,ผ้า,พลาสติก,ยาง ไม่ได้ผล ซึ่ง ไฟสามารถลุกไหม้ขึ้น มาใหม่ได้อีก

2. มีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกในการยกเคลื่อนย้าย

3. ไม่มีเกจ์วัดแรงดัน วิธีตรวจเช็คคุณภาพของเครื่องต้องชั่ง น้ำ หนัก คือถ้าน้ำ หนักลดไปเกิด 20% ของน้ำ หนักทั้งหมดให้สันนิษฐานอาจจะเกิดการรั่วซึม ให้ทำการแก้ไข หรือติดต่อตัวแทนจำหน่าย

4. เวลาฉีดดับไฟ ต้องเข้าให้ใกล้ไฟประมาณ 2 เมตร

เมื่อทำการสั่งซื้อ ทางเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

วิธีการตรวจเช็คสภาพถังดับเพลิงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ถังดับเพลิง Co2 เบื้องต้น
ควรตรวจสภาพถังดับเพลิงอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน มี 6 ขั้นตอนการตรวจ ดังนี้

1. (ช่อง ว/ด/ปี) ให้ระบุวันที่ ของวันที่ตรวจ ผู้ตรวจควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถังดับเพลิงแต่ละประเภท เช่น (จป.ประจำโรงงานหรือพนักงานทั่วไปหรือผู้แทนจำหน่ายถังดับเพลิง เป็นต้น) ที่ต้องตรวจก็เพื่อให้รู้ว่ามีการดูแลตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเหตุจริงจะได้มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าถังดับเพลิงยังอยู่ในสภาพพร้อมนำไปใช้งานได้

2. (ช่อง สลัก สายฉีด) ตรวจสอบ สลัก ต้องเสียบล็อกคันบีบของถังดับเพลิง สายฉีดไม่แตกร้าว หักงอ ถ้าสภาพปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสนโดยรวม

3. (ช่อง คันบีบ ข้อต่อ) ตรวจสอบ คันบีบถังดับเพลิง และข้อต่อถังดับเพลิง ต้องไม่เป็นสนิม หรือคดงอ ถ้าสภาพปกติ ติ๊ก หรือดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม

4. (ช่อง สภาพถัง เกจวัด) ตรวจสอบ สีถังดับเพลิงต้องสดใส ตัวถังดับเพลิงต้องไม่ขึ้นสนิม ไม่ผุ ไม่แตกร้าว สติ๊กเกอร์ไม่ฉีกขาด อ่านรายละเอียดได้ชัดเจน ถ้าสภาพปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพผิดปกติ ติ๊ก X ดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม

5. (ช่อง ผู้ตรวจ) ให้เซ็นต์ชื่อ หรือ ลายเซ็นของผู้ที่ทำการตรวจ

6. อย่างน้อยทุก 6 เดือน ควรนำถังดับเพลิง Co2 มาชั่งน้ำหนัก เพื่อเช็คว่าภายในถังดับเพลิงยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่หรือไม่ หรือ เหลือมาก น้อยเพียงใด สมควรต้องนำไปเติมหรือไม่
น้ำหนักมาตรฐานปกติ
ถัง Co2 ขนาด 5 ปอนด์ น้ำหนักรวมสุทธิ 8.3Kg / น้ำหนักหายไป 2Kg ผิดปกติ X
ถัง Co2 ขนาด 10 ปอนด์ น้ำหนักรวมสุทธิ 13.5Kg / น้ำหนักหายไป 4Kg ผิดปกติ X
ถัง Co2 ขนาด 15 ปอนด์ น้ำหนักรวมสุทธิ 19.4Kg / น้ำหนักหายไป 6Kg ผิดปกติ X