ลักษณะสารดับเพลิงผงเคมีแห้ง(Dry Chemical)
เครื่องดับเพลิงผงเคมีแห้งจะมีลักษณะของสารดับเพลิงเคมีแห้งเป็นผง บรรจุในถังสีแดง ขบวนการทางานของผงเคมีแห้งคือ ผงเคมีจะถูกดันออกไป เพื่อคลุมไฟทำให้อับอากาศ(การตัดออกซิเจน) แต่ระดับความร้อนของเชื้อ เพลิงยังคงลดลงไม่มาก มีโอกาสปะทุซ้ำขึ้นมาได้ ถ้ามีประกายไฟสัมผัสที่เชื้อเพลิง แต่ก็เป็นถังดับเพลิงผงเคมีที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย พร้อมยังเป็นถังดับเพลิงมีมาตรฐาน มอก. รับประกันตามแต่ละขนาดของถังดับเพลิง
การใช้งานของถังดับเพลิงเคมีแห้ง (Dry Chemical)
ง่ายและปลอดภัยในการใช้งานเครื่องดับเพลิง ใช้งานง่ายโดยดึงสลักตรงมือจับให้ขาดแล้วดึงสายฉีดดับเพลิงออกจากที่เก็บพร้อมเล็งไปที่ฐานไฟ จากนั้นกดคันบีบให้สุด ใช้ได้กับไฟประเภท ดังนี้
วิธีการตรวจเช็คสภาพถังดับเพลิง Dry chemical
ควรตรวจสภาพถังดับเพลิงอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน มี 7 ขั้นตอนการตรวจเบื้องต้น ดังนี้
1.(ช่อง ว.ด.ปี) ให้ระบุวันที่ ของวันที่ตรวจถังดับเพลิง ผู้ตรวจควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถังดับเพลิงแต่ละประเภท เช่น (จป.ประจำโรงงานหรือพนักงานทั่วไปหรือผู้แทนจำหน่ายถังดับเพลิง เป็นต้น) ที่ต้องตรวจถังดับเพลิงก็เพื่อให้รู้ว่ามีการดูแลตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเหตุจริงจะได้มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าถังดับเพลิงยังอยู่ในสภาพพร้อมนำไปใช้งานได้
2.(ช่อง สลัก/สายฉีด) ตรวจสอบ สลัก กระดูกงู ฟอยล์สีเงิน ต้องอยู่ครบและสายฉีดไม่แตกร้าว สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ
3.(ช่อง คันบีบ/ข้อต่อ) ตรวจสอบ คันบีบ และข้อต่อของถังดับเพลิง ต้องไม่มีสนิม หรือคดงอ สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม
4.(ช่อง สภาพถังดับเพลิง) ตรวจสอบ สภาพถังดับเพลิง ต้องไม่เป็นสนิม ไม่ผุ ไม่แตก ไม่ร้าว สติ๊กเกอร์ไม่ฉีกขาด อ่านรายละเอียดได้ชัดเจน ถ้าสภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม
5.(ช่อง เกจมาตรวัด) ตรวจสอบ เกจ์มาตรวัด สามารถมองเห็นเข็มอยู่ในแถบสีเขียวชัดเจน กระจกไม่เป็นฝ้า ไม่แตกร้าว ไม่คดงอ สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / สภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ
6.(ช่อง ผู้ตรวจ) ให้เซ็นต์ชื่อ หรือ ลายเซ็นของผู้ที่ทำการตรวจ
7.อย่างน้อยทุก 6 เดือน ควรยกถังคว่ำหงายประมาณ 5-10 ครั้ง เพื่อช่วยยึดอายุสารเคมีแห้งไม่ให้จับตัวเป็นก้อน
บริษัท ไฟร์ วินเนอร์ แอนด์ เซฟตี้ จำกัด 34, 34/1 ซ.รามอินทรา 5 แยก 9 ถ.รามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 ประเทศไทย