ลักษณะของเครื่องดับเพลิงสารเหลวระเหย Clean Agent NON C.F.C
เป็นเครื่องดับเพลิงชนิดยกหิ้ว สีเขียว บรรจุน้ำยาดับเพลิงสารเหลวระเหย ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่เป็นสื่อในการนำไฟฟ้า เมื่อฉีดออกจะเป็นไอสีขาวและระเหยไปเอง โดยไม่ทำให้วัสดุ-อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้เกิดความสกปรกต่อบริเวณที่มีการใช้งาน
คุณสมบัติพิเศษของเครื่องดับเพลิง น้ำยาดับเพลิงสารเหลวระเหยที่บรรจุในถังดับเพลิงสีเขียว จะไม่มีส่วนผสมของสาร CFC ซึ่งมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมและชั้นบรรยากาศหลังจากได้ใช้งาน หลักการทำงานของสารดับเพลิงสารเหลวระเหย ( Clean Agent ) คือจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจน หรือตัดอากาศ ในบริเวณที่เกิดการลุกไหม้
การใช้งานของเครื่องดับเพลิง ใช้ง่ายโดยดึงสลักตรงมือจับให้ขาดแล้วดึงสายฉีดดับเพลิงออกจากที่เก็บพร้อมเล็งไปที่ฐานไฟ จากนั้นกดคันบีบให้สุด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการดับไฟ ประเภท ดังนี้
Class A ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจาก ไม้ ผ้า ยาง กระดาษ พลาสติก ฯ เป็นต้น
Class B ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจาก ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ
Class C ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจากแผงวงจรไฟฟ้า ,กระแสไฟฟ้า
จุดติดตั้ง เหมาะสำหรับ ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องเซฟเวอร์, ห้องไฟฟ้า, อาคาร , สำนักงาน , รถยนต์ ,โรงงานอุตสาหกรรม,หอพัก,อพาร์ทเมนท์ ,บ้าน ที่พักอาศัย
มีเกจ์วัดความดัน เพื่อแสดงสถานะปกติของเครื่องดับเพลิง ถ้าเข็มวัดแรงอยู่ในแถบสีเขียว แสดงว่า ถังดับเพลิงอยู่ในสภาพปกติ พร้อมใช้งาน แต่ถ้าเข็มวัดแรงดัน ไม่อยู่ในแถบสีเขียว ควรนำเครื่องดับเพลิงไปตรวจสอบ หรือติดต่อตัวแทนจำหน่ายทันที
น้ำหนักถังดับเพลิง / Weight of Container | 1.7 kg. |
น้ำหนักสารเคมีในถังดับเพลิง / Weight of Agent | 2.3 kg. |
น้ำหนักรวมของถังดับเพลิง / Gross weight | 4.0 kg. |
แรงดันขับของถังดับเพลิง / Propellant | N2GAS |
แรงดันใช้งานปรกติ / Working Pressure | 195 PSI |
ระยะเวลาในการฉีดของถังดับเพลิง / Discharging Time | APPROX 10 Sec. |
ส่วนสูงของถังดับเพลิง / Over all Height | 380 mm |
เส้นผ่านศูนย์กลางถังดับเพลิง /Shell Diameter | 228 mm |
ระยะฉีดไกล ถังดับเพลิง / Shooting Range | 4-6 M. |
เมื่อทำการสั่งซื้อ ทางเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
วิธีการตรวจเช็คสภาพถังดับเพลิงสารเหลวระเหย ( Clean Agent )
ควรตรวจสภาพถังดับเพลิงอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน ดังนี้
1.(ช่อง ว/ด/ป) ให้ระบุวันที่ ของวันที่ตรวจ ผู้ตรวจควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถังดับเพลิงแต่ละประเภท เช่น (จป.ประจำโรงงานหรือพนักงานทั่วไปหรือผู้แทนจำหน่ายถังดับเพลิง เป็นต้น) ที่ต้องตรวจก็เพื่อให้รู้ว่ามีการดูแลตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเหตุจริงจะได้มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าถังดับเพลิงยังอยู่ในสภาพพร้อมนำไปใช้งานได้
2.(ช่อง สลัก/สายฉีด) ตรวจสอบ สลัก ต้องเสียบ ล็อกคันบีบของถังดับเพลิง / สายฉีดไม่แตกร้าว หักงอ ถ้าสภาพปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสนโดยรวม
3.(ช่อง คันบีบ/ข้อต่อ) ตรวจสอบ คันบีบ และข้อต่อของถังดับเพลิง ต้องไม่มีสนิม หรือคดงอ
สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก /
4.(ช่อง สภาพถังดับเพลิง) ตรวจสอบ สภาพถังดับเพลิง ต้องไม่เป็นสนิม ไม่ผุ ไม่แตก ไม่ร้าว สติ๊กเกอร์ไม่ฉีกขาด อ่านรายละเอียดได้ชัดเจน ถ้าสภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม
5.(ช่อง เกจมาตรวัด) ตรวจสอบ เกจ์มาตรวัด สามารถมองเห็นเข็มอยู่ในแถบสีเขียวชัดเจน กระจกไม่เป็นฝ้า ไม่แตกร้าว ไม่คดงอ สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / สภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ
6.(ช่อง ผู้ตรวจ) ให้เซ็นต์ชื่อ หรือ ลายเซ็นของผู้ที่ทำการตรวจ
บริษัท ไฟร์ วินเนอร์ แอนด์ เซฟตี้ จำกัด 34, 34/1 ซ.รามอินทรา 5 แยก 9 ถ.รามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 ประเทศไทย