4. ถังดับเพลิงเคมีแห้ง Dry chemical ขนาด 15 lbs

฿

เครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้วผงเคมีแห้ง( Dry Chemical) ขนาด 15 ปอนด์

ลักษณะสารดับเพลิงผงเคมีแห้ง(Dry Chemical)

เครื่องดับเพลิงผงเคมีแห้งจะมีลักษณะของสารดับเพลิงเคมีแห้งเป็นผง  บรรจุในถังสีแดง ขบวนการทางานของผงเคมีแห้งคือ ผงเคมีจะถูกดันออกไป เพื่อคลุมไฟทำให้อับอากาศ(การตัดออกซิเจน) แต่ระดับความร้อนของเชื้อ เพลิงยังคงลดลงไม่มาก มีโอกาสปะทุซ้ำขึ้นมาได้ ถ้ามีประกายไฟสัมผัสที่เชื้อเพลิง แต่ก็เป็นถังดับเพลิงผงเคมีที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะราคาไม่แพง  หาซื้อได้ง่าย  พร้อมยังเป็นถังดับเพลิงมีมาตรฐาน มอก. รับประกันตามแต่ละขนาดของถังดับเพลิง

การใช้งานของถังดับเพลิงเคมีแห้ง (Dry Chemical)
ง่ายและปลอดภัยในการใช้งานเครื่องดับเพลิง    ใช้งานง่ายโดยดึงสลักตรงมือจับให้ขาดแล้วดึงสายฉีดดับเพลิงออกจากที่เก็บพร้อมเล็งไปที่ฐานไฟ จากนั้นกดคันบีบให้สุด  ใช้ได้กับไฟประเภท ดังนี้

  1. Class A  ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจาก ไม้ ผ้า ยาง กระดาษ พลาสติก ฯ เป็นต้น
    Class B  ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจาก ก๊าซ น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ
    Class C  ได้แก่ เชื้อเพลิงที่เกิดจากแผงวงจรไฟฟ้า ,กระแสไฟฟ้า โดยเครื่องดับเพลิงนี้ เหมาะสำหรับในสถานที่โล่ง แจ้ง เช่น อาคารจอดรถ และ  อาคาร , สำนักงาน , รถยนต์ ,โรงงานอุตสาหกรรม,หอพัก,อพาร์ทเมนท์ ,บ้าน ที่พักอาศัย
  2. มีเกจ์วัดความดัน เพื่อแสดงสถานะปกติของเครื่องดับเพลิง  ถ้าเข็มวัดแรงอยู่ในแถบสีเขียว แสดงว่า ถังดับเพลิงอยู่ในสภาพปกติ พร้อมใช้งาน แต่ถ้าเข็มวัดแรงดัน ไม่อยู่ในแถบสีเขียว  ควรนำเครื่องดับเพลิงไปตรวจสอบ หรือติดต่อตัวแทนจำหน่ายทันที
  3. การบำรุงรักษา ถังดับเพลิงประเภทผงเคมีแห้ง ทุก 3 เดือน ควรตรวจเช็คเกจ์วัดความดัน ให้อยู่ในแถบสีเขียว พร้อมทั้ง ยกถัง คว่ำ – หงาย  ประมาณ 5-6 ครั้ง เพื่อให้สารผงเคมีแห้ง ได้เคลื่อนตัว เพื่อป้องกันการจับตัวเป็นก้อน
  4. อายุการใช้งานนาน  และมีประสิทธิภาพสูง  ตัวถังมีการป้องกันความชื้น และรป้องกันการเกิดสนิม หรือกัดกร่อนสนิท  โดยเคลือบสารไอออนฟอสเฟส จึงทำให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น และคงประสิทธิภาพได้นาน

    เมื่อทำการสั่งซื้อ ทางเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

วิธีการตรวจเช็คสภาพถังดับเพลิง Dry chemical
ควรตรวจสภาพถังดับเพลิงอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน มี 7 ขั้นตอนการตรวจเบื้องต้น ดังนี้

1.(ช่อง ว.ด.ปี) ให้ระบุวันที่ ของวันที่ตรวจถังดับเพลิง ผู้ตรวจควรจะมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถังดับเพลิงแต่ละประเภท เช่น (จป.ประจำโรงงานหรือพนักงานทั่วไปหรือผู้แทนจำหน่ายถังดับเพลิง เป็นต้น) ที่ต้องตรวจถังดับเพลิงก็เพื่อให้รู้ว่ามีการดูแลตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเหตุจริงจะได้มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าถังดับเพลิงยังอยู่ในสภาพพร้อมนำไปใช้งานได้

2.(ช่อง สลัก/สายฉีด) ตรวจสอบ สลัก กระดูกงู ฟอยล์สีเงิน ต้องอยู่ครบและสายฉีดไม่แตกร้าว สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ

3.(ช่อง คันบีบ/ข้อต่อ) ตรวจสอบ คันบีบ และข้อต่อของถังดับเพลิง ต้องไม่มีสนิม หรือคดงอ สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม

4.(ช่อง สภาพถังดับเพลิง) ตรวจสอบ สภาพถังดับเพลิง ต้องไม่เป็นสนิม ไม่ผุ ไม่แตก ไม่ร้าว สติ๊กเกอร์ไม่ฉีกขาด อ่านรายละเอียดได้ชัดเจน ถ้าสภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / ถ้าสภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ หรือดูตามสภาพความเหมาะสมโดยรวม

5.(ช่อง เกจมาตรวัด) ตรวจสอบ เกจ์มาตรวัด สามารถมองเห็นเข็มอยู่ในแถบสีเขียวชัดเจน กระจกไม่เป็นฝ้า ไม่แตกร้าว ไม่คดงอ สภาพถังดับเพลิงปกติ ติ๊ก / สภาพถังดับเพลิงผิดปกติ ติ๊ก X และนำไปแก้ไขให้เป็นปกติก่อน จึงกลับมาติ๊ก / ในใบตรวจ

6.(ช่อง ผู้ตรวจ) ให้เซ็นต์ชื่อ หรือ ลายเซ็นของผู้ที่ทำการตรวจ

7.อย่างน้อยทุก 6 เดือน ควรยกถังคว่ำหงายประมาณ 5-10 ครั้ง เพื่อช่วยยึดอายุสารเคมีแห้งไม่ให้จับตัวเป็นก้อน

Description

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “4. ถังดับเพลิงเคมีแห้ง Dry chemical ขนาด 15 lbs”

Your email address will not be published. Required fields are marked *